สมาร์ทฟาร์มสำหรับฟาร์มกุ้ง คืออะไร

สมาร์ทฟาร์ม คืออะไร

สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) กำลังเติบโตเป็นอย่างมากทั่วโลก เป็นการบริหารจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยี เช่น IoT (Internet of Things), หุ่นยนต์, โดรน และโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และช่วยให้สามารถใช้แรงงานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย 


ระบบสมาร์ทฟาร์มนั้นใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านเกษตรกรรม (Agriculture) และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture) ให้เจ้าของ หรือผู้ดูแลฟาร์มเกิดความสะดวกสบาย สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที รวมถึงใช้เวลาในการบริหารจัดการฟาร์มน้อยลงจากการใช้เทคโนโลยีมาช่วยนี้ 

IoT (Internet of Things)

เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น ก่อให้เกิดสินค้าแบบ Smart ต่าง เช่น สมาร์ทโฟน (Smart Phone), สมาร์ทวอทช์ (Smart Watches), สมาร์ทไบค์ล๊อค (Smart Bike Lock) ซึ่งธุรกิจประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์ เกษตรกรรม หรือธุรกิจค้าปลีก และอื่น ก็ล้วนแต่ใช้เทคโนโลยี IoT ทั้งสิ้น รวมทั้ง IoT เป็นเทคโนโลยีที่ยกระดับการทำเกษตรกรรมให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้น 


เทคโนโลยี IoT ประกอบไปด้วยตัวเซ็นเซอร์ที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณ รับส่งข้อมูลผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้บริษัท หรือธุรกิจต่าง สามารถเห็น และเก็บข้อมูล จนกลายเป็นฐานข้อมูลที่มีมูลค่าสำหรับธุรกิจ โดยคาดการณ์กันว่าภายในปี 2025 จะมีผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ระบบ IoT ถึง 75 พันล้านชิ้น 

บริษัทชั้นนำทั่วโลกใช้ระบบ IoT อย่างไรบ้าง 

อะลีบาบา (Alibaba) กำลังลงทุน 10 พันล้านหยวน หรือประมาณ 44 พันล้านบาท ในการเพิ่มจำนวนสมาร์ทวอยซ์ (Smart Voice) ที่ชื่อ จินนี่ เพื่อใช้ในเวบไซต์ของอะลีบาบา และแพลตฟอร์มอื่น เช่น แพลตฟอร์มให้บริการด้านความบันเทิง เป็นต้น 

กลุ่มบริษัทผลิตยางรถยนต์ชื่อดัง มิชลิน (Michelin) ได้ใช้ระบบ IoT ในการเพิ่มการตรวจกระบวนการจัดการการขนส่งให้ชัดเจนขึ้น และใช้ติดตามการขนส่งทางทะเลแบบเรียลไทม์ เพื่อพัฒนาความพอใจให้กับลูกค้าในกระบวนการส่งของ 

สตาร์บัค (Starbucks) ใช้ระบบ AI และ IoT กับบัตรสมาชิก loyalty card ในการเก็บข้อมูล และจัดการบริการลูกค้าจากข้อมูลให้ดีและเหมาะสมกับลูกค้ายิ่งขึ้น เช่น ส่งโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่มผ่านข้อมูลจากประวัติการซื้อ หรือแม้กระทั่งการเปิดสาขาใหม่จากข้อมูล เช่น คู่แข่งในพื้นที่ จำนวนลูกค้า หรือรายได้ของคนในละแวกนั้น 

ประโยชน์ของ IoT ต่อการเลี้ยงกุ้งในระบบ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) 

– ลดความเสี่ยง

เกษตรกรสามารถเช็คข้อมูลค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ค่าพีเอช (pH) อุณหภูมิ และค่าอื่น ได้แบบเรียลไทม์  (Real-time data) ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีระบบการแจ้งเตือนทันทีเมื่อค่าต่าง ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ ทำให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทีก่อนจะสายเกินไป 

– ความสะดวกสบาย 

เกษตรกรสามารถสั่งการผ่านแอปพลิเคชั่นอย่างง่ายดาย ไม่ว่าจากที่ไหนก็ตาม พร้อมระบบแจ้งเตือนตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถต่อเข้ากับปั๊มน้ำดี น้ำเสีย และเครื่องให้อาหาร อีกทั้งสามารถสั่งการเครื่องตีน้ำได้ผ่านแอปพลิเคชั่น 

– ประหยัดค่าใช้จ่าย 

เกษตรกรสามารถตั้งค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เหมาะสมกับสายพันธุ์กุ้งได้ หากค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ต่ำกว่า ที่ตั้งไว้ เครื่องตีน้ำจะทำงานอัตโนมัติ และหากค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) กลับมาที่ค่าที่กำหนด เครื่องตีน้ำจะหยุดทำงานอัตโนมัติเช่นกัน การเปิดปิดอัตโนมัติช่วยลดค่าไฟฟ้า เนื่อจากลดการทำงานของเครื่องตีน้ำที่ไม่จำเป็นต้องใช้ และยังช่วยลดการจ้างแรงงานคน โดยเจ้าของฟาร์มสามารถดูค่าคุณภาพน้ำต่าง ได้ผ่านแอป ตลอด 24 ชั่วโมง 

– เพิ่มผลผลิต 

เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกจากการเก็บข้อมูลตลอดการเลี้ยงมาช่วยตัดสินใจในการบริหารจัดการ เช่น การพาเชียลกุ้ง การลดหรือเพิ่มการใช้เครื่องตีน้ำ รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการทำงานของการลงกุ้งรอบถัดไป เป็นต้น 

เพิ่มความแม่นยำและความสะดวกในการวัดค่าคุณภาพของน้ำได้ตลอด 24  ชั่วโมง 

เครื่องควบคุมจัดการฟาร์มกุ้งระบบสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ของไฮโดรนีโอมากับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ที่ต่อผ่านเครื่องควบคุม เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นค่าเรียลไทม์และสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้จากทุกที่ตลอด 24 ชม ผ่านแอปพลิเคชั่น

ใส่ความเห็น

Close Menu