Plankton Crash: The Hidden Threat in Aquaculture

การจัดการแพลงก์ตอนบลูม

แพลงก์ตอนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลี้ยงกุ้ง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนี้เป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน และช่วยรักษาระดับออกซิเจนละลายน้ำอีกด้วย การมีแพลงก์ตอนที่ไม่ก่อสารพิษและมีปริมาณที่เหมาะสมนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสนใจ โดยคนเลี้ยงกุ้งหลาย ๆ คน เคยกล่าวว่า การเลี้ยงกุ้งก็เหมือนการเลี้ยงแพลงก์ตอน ถ้าเลี้ยงแพลงก์ตอนได้ดี ก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดแพลงก์ตอนบลูม ก็อาจนำมาสู่ความเสียหายได้ ในบทความนี้จะนำท่านไปดูสัญญาณของการเกิดแพลงก์ตอนบลูม เพื่อให้เราสามารถวางแผนการจัดการได้

สัญญาณอันตรายในการเกิดแพลงก์ตอนบลูม

  1. สีน้ำ: หนึ่งในสัญญาณที่สายตาเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงความโปร่งใสของน้ำ หากคุณสังเกตว่าน้ำในบ่อของคุณกําลังเปลี่ยนสี และมัวขึ้นเรื่อยๆ อาจแสดงให้เห็นถึงความลดลงของแพลงก์ตอน
  2. กุ้งลอย: การสังเกตพฤติกรรมของกุ้งอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้ได้ข้อมูลสําคัญได้เช่นกัน กุ้งอาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่ปกติ เช่น การลอยใกล้ผิวน้ำ นี่เป็นสัญญาณว่าพวกเขากําลังพยายามหาออกซิเจนที่เพียงพอ เนื่องจากมีแพลงก์ตอนมากเกินไปจนแพลงก์ตอนแย่งออกซิเจนในน้ำ หากคุณพบเห็นพฤติกรรมของกุ้งเช่นนี้ คุณควรเติมสารที่สามารถให้ออกซิเจนอย่างเร่งด่วน เช่น MgO ซึ่ง O จะแตกตัวกลายเป็นออกซิเจนละลายน้ำ ส่วน Mg หรือ แมกนิเซียมจะถูกกักเก็บในบ่อเพื่อเป็นแร่ธาตุที่ใช้ในการสนับสนุนการลอกคราบของกุ้ง
  3. ระดับออกซิเจนละลายน้ำที่เปลี่ยนแปลง: แพลงก์ตอนมีบทบาทสํคัญในการผลิตออกซิเจน ขณะที่แพลงก์ตอนบลูม ระดับออกซิเจนในบ่อจะพุ่งขึ้น และลดลงอย่างมาก การผันผวนของระดับออกซิเจนละลายเหล่านี้ทําให้กุ้งเกิดความเครียด

การป้องกันและการจัดการ

จากข้อมูลของผู้ใช้งานระบบของไฮโดรนีโอ ผู้เชี่ยวชาญ และทีมวิจัยของเรา พบว่า สัญญาณหนึ่งที่สามารถทำให้เรารู้ว่ากำลังจะเกิดแพลงก์ตอนบลูม คือ

  1. การวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำตลอด 24 ชั่วโมง: การใช้ระบบตรวจวัดระดับออกซิเจนอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้คุณตรวจสอบระดับออกซิเจนละลายแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำให้เราทราบการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งคุณจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ และระบบเตือนในฟาร์ม ดังนั้น การทราบการเปลี่ยนแปลงไปของระดับออกซิเจนละลายน้ำแบบเรียลไทม์จะช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมืออย่างทันท่วงที

จากกราฟของระบบการจัดการฟาร์มอัจฉริยะของ HydroNeo ที่สามารถตรวจสอบระดับออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ตลอดเวลา ซึ่งค่า DO มีวงจรของมันเอง โดยค่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราเปิดเครื่องตีน้ำ และลดลงเมื่อกุ้งและแพลงก์ตอนใช้ออกซิเจนในกระบวนการหายใจ เราเรียกสถานการณ์นี้ว่า 'ค่าปกติ' อย่างไรก็ตาม เมื่อระดับ DO เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มันบ่งชี้ถึงสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงในน้ำ ซึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรแพลงก์ตอน และหลังจากประมาณสองชั่วโมง เมื่อถึงจุดหนึ่งที่แพลงก์ตอนไม่สามารถเพิ่มประชากรไปได้มากกว่านี้ เนื่องจากทรัพยากรในการเพิ่มจำนวนถึงขีดจำกัด เช่น ออกซิเจนละลายน้ำ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ ค่าออกซิเจนละลายน้ำ ลดลงอย่างรวดเร็ว

2. ระบบเติมอากาศอัตโนมัติ: การรักษาระดับออกซิเจนละลายน้ำด้วยระบบบอัตโนมัติของเราทำให้มั่นใจได้ว่า ค่า DO จะไม่ต่ำกว่าค่าที่เหมาะสม

3. การจัดการการให้อาหาร: จัดการการให้อาหารอย่างเพื่อป้องกันการให้อาหารมากเกินไป การให้อาหารมากเกินไปทําให้เกิดอาหารส่วนเกินที่พื้นบ่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่วงอุณภูมิต่ำซึ่งกุ้งจะกินอาหารน้อยลง เราควรลดการให้อาหารลงประมาณ 30% เพื่อลดการเกิดการสะสมของเสียที่พื้นบ่อ

4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำ: การเปลี่ยนถ่ายน้ำมีความสำคัญต่อการลดระดับสารอาหารส่วนเกินและรักษาคุณภาพน้ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำน้ำควรได้รับคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ หรือ อ้างอิงจากข้อมูลการตรวจคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ การเปลี่ยนถ่ายน้ำนี้ สามารถช่วยลดการสะสมของสารอินทรีย์ส่วนเกิน ลดจำนวนแพลงก์ตอนในบ่อ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของการเจริญเติบโตของกุ้ง

5. แผนรับมือฉุกเฉิน: แผนนี้ควรถูกกำหนดขึ้นเพื่อด้วยตนเอง เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของคุณ

การเกิดแพลงก์ตอนบลูม หรือ การตายของแพลงก์ตอนส่งผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะในการเลี้ยงกุ้ง เราจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการเตรียมการป้องกัน และการรับมือ โดยการตรวจวัดคุณภาพน้ำ, การเติมอากาศอัติโนมัติ, และการจัดการการให้อาหารเป็นส่วนสํคัญในการจัดการแพลงก์อนบลูม

คุณเคยประสบปัญหาแพลง์ตอนบลูมหรือไม่ ? ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และวิธีการจัดการได้ที่คอมเมนท์ด้านล่าง มาร่วมกันพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนกันเถอะ

ใส่ความเห็น

Close Menu