Plankton and Photosynthesis: Essential Concepts for Shrimp farmer

แพลงก์ตอนและการสังเคราะห์ด้วยแสง: เรื่องที่คนเลี้ยงกุ้งต้องเข้าใจ

อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกำลังเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการคุณภาพน้ำ การสะสมของเสีย และความยั่งยืนในการจัดการเลี้ยงกุ้ง  การสังเคราะห์แสงเป็นหัวข้อสําคัญข้อหนึ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเพื่อนำไปปรับปรุงการเลี้ยงให้เกิดความยั่งยืน 

การสังเคราะห์ด้วยแสงกับการเลี้ยงกุ้ง 

การสังเคราะห์ด้วยแสง หมายถึง กระบวนการที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มีรงค์วัตถุ ใช้แสงแดดเพื่อเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน และสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งพบได้ในสาหร่าย แพลงก์ตอนพืช และพืชน้ำอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงในน้ำนั้นใช้คาร์บอนไดออกไซด์ละลายน้ำ และพลังงานแสงที่ส่องมาในน้ำ ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยปรับสมดุลของระบบนิเวศใต้น้ำ โดยการให้ออกซิเจนละลายน้ำมากขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า “ค่า DO” นั่นเอง และเมื่อแพลงก์ตอนพืชเติบโตในน้ำได้ดี ทำให้แพลงก์ตอนเพิ่มจำนวน ซึ่งเราสามารถมองเห็นสีน้ำที่เข้มขึ้นนั่นเอง

 

ประโยชน์ของการสังเคราะห์แสงในการเลี้ยงกุ้ง 

  • คุณภาพน้ำ 

การสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนในฟาร์มกุ้งช่วยรักษาคุณภาพน้ำ โดยการดูดซับ (ตรึง – Fixation) สารอาหารส่วนเกิน เช่น ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสซึ่งถูกปล่อยออกมาในรูปของเสียจากกุ้ง และอาหารที่เหลือ โดยของเสียเหล่านี้จะกลายเป็นเลนที่ก้นบ่อต่อไปหากไม่มีการจัดการที่ดี อีกทั้งสารอาหารส่วนเกินนี้สามารถนําไปสู่ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอน หรือ “การสะพรั่ง” (Bloom) ของแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเรารู้จักกันภายใต้คำว่า “แพลงก์ตอนบลูม”  ทำให้ระดับออกซิเจนละลายน้ำต่ำ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของกุ้ง 

  • แหล่งอาหารธรรมชาติ 

กุ้งหลายชนิดบริโภคสาหร่าย และแพลงก์ตอนพืช เป็นส่วนหนึ่งของอาหาร โดยเฉพาะกุ้งที่ยังอ่อนวัยที่ยังกินอาหารเม็ดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงสามารถผลิตสารอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการโดยรวมของกุ้ง 

  • ออกซิเจนละลายน้ำ 

การสังเคราะห์ด้วยแสงมีส่วนช่วยในการเติมออกซิเจนละลายน้ำผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง กุ้งต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจ สภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนดีจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และสุขภาพโดยรวมของกุ้ง โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงผลิตออกซิเจนละลายน้ำนั้น ช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียออกซิเจน (ออกซิเจนดรอป) และผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง 

คำเตือน! ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชั้นนําของประเทศไทย ได้ออกมาเตือน ในงานสัมมนาวิชาการ โดยกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งท่าทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  

“เรามีความเคยชินในวันที่แสงแดดจัด สีน้ำเข้ม ตอนบ่ายจึงเปิดเครื่องตีน้ำน้อย   เพราะคิดว่า สีน้ำเข้ม คือ แพลงก์ตอนพืชเยอะ มันผลิตออกซิเจนให้เรา ยิ่งสีน้ำเข้มตอนบ่ายออกซิเจนต้องทะลุไปเลย ตามตำราต้องเป็นอย่างนั้น ออกซิเจนต้องมโหฬารเลย เราจึงไม่ได้เปิดเครื่องตีน้ำเยอะ ปรากฏว่า กลางคืนกุ้งลอย บ่อพวกนี้จะเสียหายเยอะ ซึ่งหลาย ๆ ประเทศประสบปัญหานี้เยอะ สาเหตุที่ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ น่าจะเป็นเพราะอุณหภูมิน้ำสูงกว่า 32 องศา ซึ่งเกินกว่าความพอดีในการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช การที่จะสังเคราะห์แสงได้เหมือนปกติให้มีประสิทธิภาพสูงจึงทำได้ยาก อีกทั้งแพลงก์ตอนเหล่านี้ยังต้องใช้ออกซิเจนหายใจ แต่กลับผลิตออกซิเจนออกมาได้น้อย จึงทำให้ออกซิเจนตก”  

 

“บ่อที่รอด” คือ บ่อที่มีเครื่องวัดออกซิเจน “เตือน” สมมติว่า เราตั้งค่าออกซิเจนต่ำกว่า 4 เครื่องตีน้ำจะทำงาน หรือเตือนเข้ามาในมือถือเราว่า ออกซิเจนต่ำ เราจึงสามารถสั่งคนงานไปเปิดเครื่องตีน้ำ บ่อกลุ่มนี้รอด… “

 

 

ประโยชน์ของระบบ Smart Farm Management 

  • เพิ่มผลผลิต: ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตลอด 24 ชั่วโมง 
  • ลดความเสี่ยง: ลดความเสี่ยงในการเลี้ยงผ่านการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง และมีสัญญาณเตือนเมื่อคุณภาพน้ำอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสม 
  • ลดค่าใช้จ่าย: ระบบจะสั่งการผ่านระบบอัตโนมัติตามข้อมูลเซ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ กล่าวคือ จะทำการสั่งเปิดเครื่องตีน้ำเมื่อค่า DO อยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม และสั่งปิดเครื่องตีน้ำที่กำหนดอัตโนมัติ เมื่อค่าออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสม ช่วยให้ประหยัดค่าไฟส่วนเกินได้ถึง 50%  
  • ประสิทธิภาพฟาร์มที่ดีขึ้น: บันทึกข้อมูลการเลี้ยงของคุณ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการเลี้ยงในรอบต่อไป อีกทั้งสามารถนำข้อมูลการเลี้ยงของคุณเปรียบเทียบประสิทธิภาพมาตรฐานอุตสาหกรรม และงานวิจัยได้อีกด้วย 

ใส่ความเห็น

Close Menu