The vital role of dissolved oxygen sensors in Shrimp farming and Aquaculture​

DO Sensor for Farming

ปี 2561 ฟาร์มเลี้ยงปลานิลที่ประเทศกาน่า ได้ตายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากจนต้องปิดตัวลง มีการสืบสวนในเรื่องนี้จนพบว่าเจอแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุคาดการณ์กันว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะค่าออกซิเจนละลายในน้ำต่ำมาก

ความเข้มข้นของ DO จึงมีผลสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ แม้ว่าในบรรยากาศมีก๊าซออกซิเจนประมาณ  21  เปอร์เซ็นต์ แต่ก๊าซออกซิเจนละลายน้ำได้น้อยมาก สัตว์น้ำจึงต้องใช้พลังงานเพื่อการหายใจมากกว่าสัตว์บกเพื่อให้ได้ออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการ ความสามารถในการละลายน้ำของก๊าซออกซิเจนขึ้นอยู่กับความกดดันของบรรยากาศ อุณหภูมิและความเค็มของน้ำ โดยก๊าซออกซิเจนละลายน้ำได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิและความเค็มของน้ำลดลง

ค่าออกซิเจนละละลายในน้ำ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพของน้ำที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ที่ใช้กับตัวเซ็นเซอร์วัดค่า ออกซิเจนละลายในน้ำ ใช้เพื่อวัดค่าออกซิเจนได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ ให้ผลกลับมาที่แพลตฟอร์มวัดค่าน้ำ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้

ผลของออกซิเจนละลายในน้ำต่อกุ้งทะเล

  • การกินอาหาร ระบบย่อยอาหาร เจริญเติบโตดีขึ้น
  • ต้านทานโรค ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
  • เพิ่มอัตรารอดตายของกุ้ง โดยเฉพาะการเลี้ยงแบบพัฒนาตความหนาแน่นสูง
  • ทนต่อสารพิษ เช่น แอมโมเนี่ย ไนไตรท์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์
  • ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Bacillus spp, Nitrifying Bacteria เป็นต้น

การวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำในฟาร์มกุ้ง

การปล่อยให้กุ้งต้องอยู่ในน้ำที่มีค่าออกซิเจนต่ำถึง 1 ชั่วโมงก็อาจสร้างความเสียหายได้มาก การเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะการเลี้ยงแบบพัฒนาที่มีการลงกุ้งค่อนข้างหนาแน่น ค่าออกซิเจนละลายในน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องออกไปเช็คค่าออกซิเจนหลายครั้ง เกษตรกรหรือเจ้าของฟาร์มอาจเคยเจอคนงานที่ไม่อยากออกไปตรวจสอบค่าออกซิเจนตอนกลางคืน หรือแจ้งผลที่อาจจะไม่ตรง และการตรวจค่าออกซิเจนแบบแมนนวลนั้น ยังมีวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยากอีกด้วย

เซ็นเซอร์วัดค่าออกซิเจนในน้ำ

เซ็นเซอร์ที่ใช้ในการวัดค่าออกซิเจนนั้น มีหลายแบบ แต่จะมี 2 แบบ ที่ได้รับความนิยมและให้ผลดี ได้แก่

  1. Galvanic – แบบกัลวานิค มีราคาไม่แพงมากนัก แต่การวัดต้องกวนน้ำเป็นคลื่นตลอด และต้องมีกา่รสอบเทียบค่อนข้างถี่ด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ ซึ่งทำให้แผ่นเมมเบรนมีตะกอนมาเกาะจำนวนมากเมื่ออยู่ในน้ำ
  2. Optical – แบบออปติคัล เป็นเซ็นเซอร์ในแบบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในตอนนี้ โดยหัวโพรบจะวัดค่าออกซิเจนในน้ำโดยการฉายแสงสีฟ้า ทำให้ส่วนตรวจจับเกิดการเปล่งแสง สัญญาณแสงในเซ็นเซอร์จะสูงสุดเมื่อไม่มีออกซิเจน และหากมีค่าออกซิเจน สัญญาณแสงก็จะลดลง การวัดค่าออกซิเจนด้วยเซ็นเซอร์แบบออปติคัลไม่ต้องกวนน้ำให้เกิดคลื่นก็สามารถวัดค่าได้ การสอบเทียบก็สามารถทำได้โดยการกดปุ่มในขณะที่เซ็นเซอร์ไม่ได้อยู่ในน้ำก็สามารถวัดค่าได้ การสอบเทียบไม่ถี่เท่าแบบกัลวานิค ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ

เซ็นเซอร์วัดค่าออกซิเจนในน้ำ นั้น ทำให้คุณจัดการกับออกซิเจนได้ทันที ลดการสูญเสียจากค่าออกซิเจนที่ต่ำ  มีความเสถียร แม่นยำ และดูแลรักษาง่าย

เพิ่มความแม่นยำและความสะดวกในการวัดค่าคุณภาพของน้ำได้ตลอด 24 ช.ม.

เครื่องควบคุมจัดการฟาร์มกุ้งระบบสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ของไฮโดรนีโอ มากับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ  รวมถึงเซ็นเซอร์วัดค่าออกซิเจนในน้ำ แบบ Optical ที่ต่อผ่านเครื่องควบคุม เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นค่าเรียลไทม์และสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้จากทุกที่ตลอด 24 ชม ผ่านแอปพลิเคชั่น

ใส่ความเห็น

Close Menu