การเตรียมบ่อกุ้ง

บ่อเลี้ยงกุ้ง

การเตรียม บ่อเลี้ยงกุ้ง

ก่อนปล่อยกุ้ง อาจจะเป็นบ่อเก่าหรือบ่อใหม่ที่เพิ่งเลี้ยงเป็นครั้งแรก และเพื่อให้พื้นก้น บ่อเลี้ยงกุ้ง สะอาดพร้อมที่จะปล่อยกุ้ง การเตรียมบ่อกุ้ง ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของดินแต่ละบ่อ สามารถพิจารณาได้ดังนี้ 

ดินเหนียวแข็ง: หลังจากจับกุ้ง เลนจะรวมตัวอยู่กลางบ่อ จากนั้นทำการตากเลนให้แห้งแล้วตักเลนออกจากบ่อ

ดินเหนียวปนทราย: หลังจากจับกุ้งให้ทำการไถพรวนพื้นบ่อ โดยไม่ต้องเอาเลนออก ตากบ่อให้แห้ง ปรับระดับใหม่ บดอัดดินให้แน่น

ดินลูกรังพื้นแข็ง: ตากบ่อให้แห้งไม่ต้องเอาเลนออก เลี้ยงต่อไปได้เลยหรือจะใช้การฉีดเลนเอาตะกอนที่ชั้นล่างออกไป โดยมีบ่อเก็บเลนภายในบ่อ

ดินทราย: ไถพรวนทั้งบ่อให้ลึกลงไปจนถึงระดับดินที่มีสีดำ จากนั้นตากบ่อให้แห้งจนดินไม่มีสีดำ ปรับระดับบ่อใหม่และอัดบดให้แน่น หรือจะใช้วิธีการฉีดเลนให้ตะกอนสีดำที่อยู่ในระดับล่างออกไป และเก็บไว้ในบ่อเลน

ดินเป็นกรด: ห้ามไถพรวนเพราะจะทำให้กรดในดินข้างล่างออกมา การตากบ่อจะเพิ่มความเป็นกรด ดังนั้นควรฉีดเลนและมีบ่อเก็บเลนภายในฟาร์ม ตากบ่อไม่นานหลังหลังจากนั้นให้เติมน้ำเข้าบ่อ เติมวัสดุปูนเพื่อปรับ pH และเตรียมน้ำสำหรับปล่อยกุ้ง

การเลี้ยงกุ้งขาวในบ่อกุ้งที่ปูด้วย PE (โพลีเอททีลีน)

เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปูพีอี ในการเลี้ยงกุ้ง โดย พีอี มี 2 ประเภท

แบบบาง โดยจะมีความหนาอยู่ที่ 0.15 มม. และแบบหนามีความหนาอยู่ที่ 0.3 มม. โดยแบบบางถ้ามีการบำรุงรักษาอย่างดี ถ้ามีรูขาดนำไปซ่อมแซม พบว่าการปู 1 ครั้ง สามารถใช้ได้ประมาณ 3 ปี 

ประโยชน์ของการปูพีอี

เพื่อป้องกันคันดินรอบบ่อพังเสียหาย ไม่ให้เกิดการรั่วซึมของบ่อเป็นการป้องกัน สนิมเหล็ก ดินเป็นกรด สามารถควบคุมน้ำในบ่อได้ดีกว่าในบ่อที่ไม่ปูพีอี อาหารที่ให้กุ้งกินก็จะมีความสะอาด ไม่สัมผัสกับดินทำให้เกิดการเน่าเสียที่ก้นบ่อลดน้อยลง ทำให้การเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงกุ้งในรอบต่อไปเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องทำการตากบ่อหรือ แต่งบ่อ ก็สามารถเลี้ยงต่อได้เลยและยังสามารถป้องกันพาหะที่เจอบ่อยคือ ปู ที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่บ่อกุ้ง และยังทำให้กุ้งสะอาด สีสวย ไม่มีกลิ่นโคลนอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างการเลี้ยงกุ้งใน บ่อเลี้ยงกุ้ง ที่ปูพีอี และบ่อดินที่ไม่ปูพีอี

สีน้ำในบ่อที่ปูพีอี จะมีสีเขียวเร็วกว่าน้ำในบ่อดิน เนื่องจากบ่อพีอี ไม่มีตะกอนแขวนลอยมาบังการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช และอาหารในบ่อที่เหลือก็จะเป็นปุ๋ยให้กับแพลงก์ตอนทำให้แพลงก์ตอนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่บ่อดินมีตะกอนมาก ทำให้แพลงก์ตอนพืชสังเคราะห์แสงได้ไม่ดีเท่าที่ควรจึงมีโอกาสที่จะเกิดน้ำเขียวช้ากว่า

เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่ง จะพบว่าบ่อดินมีตะกอนค่อนข้างมาก ซึ่งการเลี้ยงในช่วง 30 วันแรกจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ. แต่ช่วงระหว่าง 50-100 วัน พบว่าบ่อดินมีตะกอนค่อนข้างมาก  น้ำจะมีลักษณะขุ่นจนเหมือนโคลน กุ้งจะเครียดซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องการกินอาหารและการเจริญเติบโต ในขณะที่บ่อพีอีไม่มีปัญหาดังกล่าว 

การใช้วัสดุปูน

ปูนที่ใช้ในการเตรียมบ่อมีหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามองค์ประกอบหลักของเนื้อปูนได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

ปูนในกลุ่มออกไซด์ ได้แก่ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ คือ แคลซียมออกไซด์หรือที่เรียกว่า ปูนเผา ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยแก้ปัญหาสภาพดินเป็นกรด จะทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้ เมื่อปูนสัมผัสกับน้ำจะทำให้เกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น เมื่อสัมผัสกับน้ำ จะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวเป็นก้อน เนื่องจากผ่านกระบวนการให้ความร้อนสูง ซึ่งเป็นการทำลายโครงสร้างให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง

ปูนในกลุ่มไฮดรอกไซด์ ได้แก่ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH2)) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH)2) หรือเรียกว่า ปูนขาว ซึ่งมีคุณสมบัติของปูนจะทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าพวกคาร์บอเนตแต่น้อยกว่าปูนพวกออกไซด์ มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้น้อยกว่า เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวกันเป็นก้อน

ปูนกลุ่มคาร์บอเนต ได้แก่ หินปูน (CaCO3) หรืๆอหินโดโลไมต์ (CaMg (CO3)) เปลือกหอยและ
ดินมาร์ล (marl) ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้ จะปรับค่า pH ให้เพิ่มขึ้นช้า ๆ จึงทำให้ค่า pH คงอยู่ได้นาน เป็นปูนที่มาจากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาบดโดยไม่ผ่านกระบวนการเผาด้วยความร้อน ช่วยเพิ่มค่าคาร์บอเนต
อัลคาไลนิตี้ของน้ำได้อย่างดี เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไปเกิดความร้อนหรือไม่ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไม่ออกฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ เมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายโดยเฉพาะปูนมาร์ล

การเตรียมน้ำก่อนลงกุ้ง

บ่อเลี้ยง

ดึงน้ำเข้าบ่อเลี้ยง โดยผ่านการกรองละเอียดโดยใช้ถุงกรองผ้าป่านใยแก้ว 4 ชั้น และกำจัดพาหะ โดยใช้ คลอรีน 60% 50 กก./ ไร่ นำคลอรีนใส่ถัง กวนจนคลอรีนละลายแล้ว เทลงบ่อเลี้ยงเคล้าให้ทั่วทั้งบ่อ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดควรใส่ช่วงเย็น ที่ค่า pH 7.3-7.8 หรือใช้ไตรคลอร์ฟอน 1-1.5 กก./ไร่ ละลายไตรคลอร์ฟอนเช่นเดียวกับคลอรีน เทลงบ่อเลี้ยงเคล้าให้ทั่วทั้งบ่อ ใส่ช่วงบ่าย ที่มีค่า pH 7.8 ขึ้นไป จากนั้นทำการเบื่อปลาโดยใช้ กากชา 20-30 กก./ไร่ หรือน้ำกากชา 10-20 กก./ไร่ โดยใช้กากชากำจัดพวกซูโอแทมเนียม โปรโตซัว หอยเจดีย์

ทำสีน้ำ

การใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อทำการฆ่าเชื้อโรคและตากบ่อเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็ทำการใส่ปุ๋ยเคมี 0.8-1.6 กก./ไร่ ใส่ทุก 3 วัน จนกว่าสีน้ำจะเป็นสีเขียว ก็สามารถปล่อยกุ้งได้เลย

การใช้สีน้ำเทียม ในการทำสีน้ำก่อนการปล่อยกุ้ง 1 วัน เพื่อช่วยพรางแสงจะป้องกันให้กุ้งไม่เกิดการตื่นกลัว และเครียดจนเกินไป เนื่องจากถ้าน้ำใส นกและนักล่าก็จะมองเห็นลงมากินกุ้งในบ่อได้ และกรณีของการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำ และกุ้งขาวที่ปล่อยในระดับน้ำตื้น เมื่อเจอแดดจัดในตอนกลางวันจะทำให้พื้นก้นบ่อมีความร้อนเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรจะทำสีน้ำให้มีสีเขียวแกมน้ำเงินหรือสีเขียว

 

เพิ่มความแม่นยำและความสะดวกในการวัดค่าคุณภาพของน้ำได้ตลอด 24 ช.ม.

เครื่องควบคุมจัดการฟาร์มกุ้งระบบสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ของไฮโดรนีโอ มากับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่ต่อผ่านเครื่องควบคุม เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นค่าเรียลไทม์และสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้จากทุกที่ตลอด 24 ชม ผ่านแอปพลิเคชั่น

Leave a Reply

Close Menu